เทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลโปรแกรม

ยิ้มหน่ภ??น่า สวัสดีครับ ยิ้มหน่ภ??น่า ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมบล็อกของเรานะครับ วันนี้ผมก็มีเรื่องสองสามเรื่องมาเล่าให้ฟังเหมือนเดิมครับ
หัวข้อ


ควรแปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม
ในบางโปรแกรม ถ้าคำเดียวกันจะมีที่เดียวแต่ก็มีเหมือนกันที่คำเดียวแต่มีหลายที่ ดังนั้นหากคำต้นฉบับใช้คำเดียวกันเราก็ควรที่แปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม หรือทุกโปรแกรมจากเว็บไซต์เดียวกัน(ในกรณีที่เว็บไซต์นั้นๆมีหลายโปรแกรม)

ภาพการใช้คำสั่ง replace เพื่ภ??ทนที่ข้ภ??วามที่มีหลายที่ซ้ำกัน

ซึ่งวิธีการนั้นก็ทำได้ง่ายๆครับ โดยใช้คำสั่ง แทนที่ หรือ replace ในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป ตัวผมเองแม้กระทั่งคำว่า Yes No OK หรือ Cancel ผมก็ใช้การแทนที่ข้อความแบบนี้ และการใช้คำสั่งนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือช่วยป้องกันการพิมพ์ผิดได้อีกด้วยครับ คือถึงพิมพ์ผิดก็จะหาได้ง่ายเพราะจะผิดหลายที่ทำให้เห็นได้ง่าย และข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือช่วยเพิ่มความเร็วในการแปลเพราะว่าเราไม่ต้องมานั่งพิมพ์เดิมซ้ำๆ


ความยาวของข้อความ
เนื่องจากว่าการแปลโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่การแปลอื่นๆไม่มี นั่นก็คือ การแปลเมนูโปรแกรม(บางโปรแกรม)มีการจำกัดพื้นที่การแสดงผลที่จะต้องไม่เกินพื้นที่ที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ เช่นปุ่ม  หากแปลว่า  อาจจะยาวไปจนแสดงไม่ได้ แต่ถ้าแปลว่า หรือ ก็จะทำให้ข้อความสั้นลงไปเยอะเลยนะครับ

ดังนั้นเราจึงควร

  • ดูความยาวของข้อความด้วย เพราะว่าภาษาไทยกับอังกฤษยาวไม่เท่ากัน และพื้นที่แสดงผลบนโปรแกรมอาจจะไม่พอ
  • หากพื้นที่ไม่พอให้ลองหาคำอื่นๆที่มีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันหรือตัดบางคำออกแต่ยังคงความหมายเอาไว้
  • ควรดูให้รู้ว่าคำที่เรากำลังแปลหรือทุกคำที่เราแปลอยู่ตรงไหนของโปรแกรม (เพื่อจะได้รู้ว่าแสดงผลได้ครบถ้วน+ถูกต้องรึเปล่า)


การใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง
ผมไม่รู้ว่าเขาเรียกการขีดเส้นใต้คำในเมนู เช่น แฟ้ม แก้ไข มุมมง หรือ about ว่ายังไง ผมก็ขอเรียกว่า ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง ก็แล้วกัน โดยที่ประโยชน์ของตัวเลือกนี้ก็คือ การเรียกใช้คำสั่งโดยไม่ต้องใช้เมาส์คลิกแต่ใช่คีย์บอร์ดแทน เช่น ถ้าเราจะไปที่เมนู File หรือ แฟ้ม เราก็กดปุ่ม ALT (อยู่ใกล้กับปุ่มที่ยาวที่สุดด้านล่าง)ตามด้วยตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้คือ F หรือ ในโปรแกรมส่วนมากมักจะมีตัวเลือกนี้ครับ แต่บางโปรแกรมจะไม่แสดงจนกว่าเราจะกดปุ่ม Alt

โดยการใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่งนี้ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

  • ในเมนูย่อยหนึ่งๆ ต้องไม่ซ้ำกัน
  • ควรขีดเส้นใต้ที่ตัวอักษรตัวแรก ถ้าตัวอักษรตัวแรกซ้ำก็ขยับไปตัวถัดไป เช่น
    ันทึก
    บัทึกเป็น
    หรือ
    ันทึก
    บันทึกเ็น
  • ดูว่าโปรแกรมอื่นเขานิยมใส่ที่ตัวไหนเช่นคำว่า บันทึกเป็น นิยมใส่ที่ น ตัวแรกหรือตัวที่สอง เป็นต้น
  • ใช้คำหลักของประโยค(หรือคำที่นึกถึง)เช่นคำว่า ค้นหา คำหลักคือคำว่า หา ก็ขีดที่ตัว
  • ถ้าคำขึ้นต้นด้วยสระให้ขยับไปขีดเส้นใต้ในพยัญชนะตัวแรก (แต่ถ้าหากตัวอักษรที่มีอยู่ซ้ำกับตัวอื่นหมดแล้วก็อนุโลมให้ใช้สระได้)
  • ถ้าขึ้นต้นด้วย อักษรตัวบน ก็ให้ขยับไปขีดเส้นใต้ที่อักษรตัวถัดไป (อักษรตัวบนคืออักษรที่ต้องกด Shift หรือยกก่อนจึงจะพิมพ์ได้ เช่นขึ้นต้นด้วยตัว ซ โซ่ ฉ ฉิ่ง ณ เณร)
  • เทียบอักษรอังกฤษไทย เช่น P กับ พ ก็เป็น Print พิมพ์
  • และอีกวิธีหนึ่งที่ผมชอบใช้คือ เทียบตรงแป้น คือการเทียบว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษนั้นอยู่ตรงกับอักษรไทยในคำที่เราแปลหรือไม่ เช่น คำว่า view ขีดที่ตัว v และคำไทยผมใช้คำว่า มุมมอง ผมก็ลองก้มดูที่ตัว v ว่าตรงกันตัวอะไร ก็ได้ว่าตรงกันตัว  ผมก็เลยขีดเส้นใต้ที่ตัว เป็น มุมม
    วิธีนี้มี ข้อดีคือ ทำให้คีย์ลัดของทั้งสองภาษาเป็นตัวเดียวกัน
  • พอเขียนถึงคำว่า มุมมอง ก็นึกได้อีกข้อคือ ถ้าคำแรกมีสระ อุ หรือ อู ควรขยับไปอีกหน่อยไม่งั้นจะแสดงเป็น มุมมอง หรือ คุณสมบัติ ซึ่งจะถูกบังทำให้เห็นไม่ชัดครับ

สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้
สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้ ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าให้ขีดเส้นใต้ที่ตัวนี้นะ
ซึ่งเท่าที่ผมหาเจอมีดังนี้ครับ

  1. ตัวแรก &
    คือตัวที่เราใช้แทนคำว่า and หรือ และ นั่นแหละครับวิธีใช้ก็ง่ายครับแค่ขยับหรือแทรกตัว & นี้ที่ตัวที่ต้องการขีดเส้นใต้เท่านั้นเอง เช่น
    แ&ฟ้ม        เป็น   แ้ม
    &บันทึก      เป็น   ันทึก
    บั&นทึกเป็น เป็น   บัทึกเป็น
    &พิมพ์        เป็น    ิมพ์
    คุณ&สมบัติ  เป็น    คุณมบัติ
    &ออก        เป็น    อก
    คงมีคนสงสัยนะครับว่าแล้วถ้าเราต้องการแสดงตัว & ทำยังไงเช่น เว็บ & บล็อก
    ก็ให้ใส่ไปอีกตัวครับเป็น เว็บ && บล็อก เวลาแสดงผลก็จะเห็นเป็น เว็บ & บล็อก ถ้าต้นฉบับใส่แค่ เว็บ & บล็อก ผลลัพธ์ก็จะแสดงเป็น เว็บ ล็อก
        
  2. ตัวที่ 2 &
    วิธีใช้ก็เหมือนกับตัวแรกครับ แค่ยาวกว่าเท่านั้นเอง และควรดูว่า & ยังคงเป็น & นะครับไม่งั้นถ้าเกิด แ&ฟ้ม แต่ใส่ผิดที่เป็น แ&ฟ้มamp; หรือ แ&ฟ้ม& ก็จะเกิดข้อผิดพลาดแสดงผลไม่ได้หรือแสดงผลผิดครับ (& เป็นรหัสของ & ในภาษา html)

สุดท้ายมีหลายคนถามว่า ถ้าต้นฉบับมีการขีดเส้นใต้แต่เราจะไม่ใส่ได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ครับ ผมเองเคยเห็น หลายโปรแกรมที่ต้นฉบับมีแต่พอเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยกับไม่มีเลยซักที่ ก็…
ไม่มีก็ได้ครับไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่เป็นการเสียเวลามากนักผมก็ขอรบกวนให้ช่วยมีให้หน่อยนะครับเพื่อว่า

  1. จะได้สะดวกแก่ผู้ใช้ที่ถนัดการใช้คีย์ลัด (คุณใช้ไม่เป็นหรือไม่ได้ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีใครใช้นะครับ)
  2. ทำให้คุณดูเป็นอาชีพมากขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเพียงมือสมัครเล่นในด้านการแปลโปรแกรมก็ตาม
    แต่เป็นมือหมักเล่น     ที่ได้ชื่อว่า        เป็นมืออาชีพ ดีกว่าได้ชื่อว่า
    เป็นมืออาชีพ            ที่ฝีมือ            หมักเล่นนะครับ ยิ้มหน่ภ??ครับ


อ่านก่อนแปล
และเรื่องสุดท้ายที่อยากจะฝากวันนี้ก็คือ ก่อนแปลขอรบกวนให้ ช่วยอ่านวิธีแปลก่อนที่จะแปลทุกครั้งนะครับ
ถึงแม้ว่าคุณจะเคยแปลโปรแกรมมากี่สิบกี่ร้อยโปรแกรมแล้วก็ตาม รบกวนอ่านก่อนนิดนึงครับ ว่า

  • เขายินดีรับการแปลของภาษาอื่นๆหรือไม่
  • เขามีนักแปลของเขาเองแล้วก็ยัง ถึงแม้ว่าในโปรแกรมรุ่นล่าสุดที่เราดาวน์โหลดมาจะยังไม่มีภาษาไทยก็ตาม
    แต่เขาอาจจะมีนักแปลอยู่แล้วและกำลังแปลอยู่แต่ยังไม่ได้เพิ่มในโปรแกรม
  • เขาอาจจะมีไฟล์ภาษาไทยและภาษาอื่นๆ อยู่แล้วแต่ไม่มีในโปรแกรม แต่สามารถดาวน์โหลดเพิ่มได้บนอินเตอร์เน็ต
  • บางโปรแกรมเขาหยุดการพัฒนาและการสนับสนุนไปแล้ว ถึงเราจะตั้งใจแปลแค่ไหนส่งไป ก็ไม่มีประโยชน์ครับ แถมอายเขาอีกตังหาก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *