เทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลโปรแกรม

ยิ้มหน่ภ??น่า สวัสดีครับ ยิ้มหน่ภ??น่า ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมบล็อกของเรานะครับ วันนี้ผมก็มีเรื่องสองสามเรื่องมาเล่าให้ฟังเหมือนเดิมครับ
หัวข้อ


ควรแปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม
ในบางโปรแกรม ถ้าคำเดียวกันจะมีที่เดียวแต่ก็มีเหมือนกันที่คำเดียวแต่มีหลายที่ ดังนั้นหากคำต้นฉบับใช้คำเดียวกันเราก็ควรที่แปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม หรือทุกโปรแกรมจากเว็บไซต์เดียวกัน(ในกรณีที่เว็บไซต์นั้นๆมีหลายโปรแกรม)

ภาพการใช้คำสั่ง replace เพื่ภ??ทนที่ข้ภ??วามที่มีหลายที่ซ้ำกัน

ซึ่งวิธีการนั้นก็ทำได้ง่ายๆครับ โดยใช้คำสั่ง แทนที่ หรือ replace ในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป ตัวผมเองแม้กระทั่งคำว่า Yes No OK หรือ Cancel ผมก็ใช้การแทนที่ข้อความแบบนี้ และการใช้คำสั่งนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือช่วยป้องกันการพิมพ์ผิดได้อีกด้วยครับ คือถึงพิมพ์ผิดก็จะหาได้ง่ายเพราะจะผิดหลายที่ทำให้เห็นได้ง่าย และข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือช่วยเพิ่มความเร็วในการแปลเพราะว่าเราไม่ต้องมานั่งพิมพ์เดิมซ้ำๆ


ความยาวของข้อความ
เนื่องจากว่าการแปลโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่การแปลอื่นๆไม่มี นั่นก็คือ การแปลเมนูโปรแกรม(บางโปรแกรม)มีการจำกัดพื้นที่การแสดงผลที่จะต้องไม่เกินพื้นที่ที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ เช่นปุ่ม  หากแปลว่า  อาจจะยาวไปจนแสดงไม่ได้ แต่ถ้าแปลว่า หรือ ก็จะทำให้ข้อความสั้นลงไปเยอะเลยนะครับ

ดังนั้นเราจึงควร

  • ดูความยาวของข้อความด้วย เพราะว่าภาษาไทยกับอังกฤษยาวไม่เท่ากัน และพื้นที่แสดงผลบนโปรแกรมอาจจะไม่พอ
  • หากพื้นที่ไม่พอให้ลองหาคำอื่นๆที่มีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันหรือตัดบางคำออกแต่ยังคงความหมายเอาไว้
  • ควรดูให้รู้ว่าคำที่เรากำลังแปลหรือทุกคำที่เราแปลอยู่ตรงไหนของโปรแกรม (เพื่อจะได้รู้ว่าแสดงผลได้ครบถ้วน+ถูกต้องรึเปล่า)


การใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง
ผมไม่รู้ว่าเขาเรียกการขีดเส้นใต้คำในเมนู เช่น แฟ้ม แก้ไข มุมมง หรือ about ว่ายังไง ผมก็ขอเรียกว่า ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง ก็แล้วกัน โดยที่ประโยชน์ของตัวเลือกนี้ก็คือ การเรียกใช้คำสั่งโดยไม่ต้องใช้เมาส์คลิกแต่ใช่คีย์บอร์ดแทน เช่น ถ้าเราจะไปที่เมนู File หรือ แฟ้ม เราก็กดปุ่ม ALT (อยู่ใกล้กับปุ่มที่ยาวที่สุดด้านล่าง)ตามด้วยตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้คือ F หรือ ในโปรแกรมส่วนมากมักจะมีตัวเลือกนี้ครับ แต่บางโปรแกรมจะไม่แสดงจนกว่าเราจะกดปุ่ม Alt

โดยการใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่งนี้ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

  • ในเมนูย่อยหนึ่งๆ ต้องไม่ซ้ำกัน
  • ควรขีดเส้นใต้ที่ตัวอักษรตัวแรก ถ้าตัวอักษรตัวแรกซ้ำก็ขยับไปตัวถัดไป เช่น
    ันทึก
    บัทึกเป็น
    หรือ
    ันทึก
    บันทึกเ็น
  • ดูว่าโปรแกรมอื่นเขานิยมใส่ที่ตัวไหนเช่นคำว่า บันทึกเป็น นิยมใส่ที่ น ตัวแรกหรือตัวที่สอง เป็นต้น
  • ใช้คำหลักของประโยค(หรือคำที่นึกถึง)เช่นคำว่า ค้นหา คำหลักคือคำว่า หา ก็ขีดที่ตัว
  • ถ้าคำขึ้นต้นด้วยสระให้ขยับไปขีดเส้นใต้ในพยัญชนะตัวแรก (แต่ถ้าหากตัวอักษรที่มีอยู่ซ้ำกับตัวอื่นหมดแล้วก็อนุโลมให้ใช้สระได้)
  • ถ้าขึ้นต้นด้วย อักษรตัวบน ก็ให้ขยับไปขีดเส้นใต้ที่อักษรตัวถัดไป (อักษรตัวบนคืออักษรที่ต้องกด Shift หรือยกก่อนจึงจะพิมพ์ได้ เช่นขึ้นต้นด้วยตัว ซ โซ่ ฉ ฉิ่ง ณ เณร)
  • เทียบอักษรอังกฤษไทย เช่น P กับ พ ก็เป็น Print พิมพ์
  • และอีกวิธีหนึ่งที่ผมชอบใช้คือ เทียบตรงแป้น คือการเทียบว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษนั้นอยู่ตรงกับอักษรไทยในคำที่เราแปลหรือไม่ เช่น คำว่า view ขีดที่ตัว v และคำไทยผมใช้คำว่า มุมมอง ผมก็ลองก้มดูที่ตัว v ว่าตรงกันตัวอะไร ก็ได้ว่าตรงกันตัว  ผมก็เลยขีดเส้นใต้ที่ตัว เป็น มุมม
    วิธีนี้มี ข้อดีคือ ทำให้คีย์ลัดของทั้งสองภาษาเป็นตัวเดียวกัน
  • พอเขียนถึงคำว่า มุมมอง ก็นึกได้อีกข้อคือ ถ้าคำแรกมีสระ อุ หรือ อู ควรขยับไปอีกหน่อยไม่งั้นจะแสดงเป็น มุมมอง หรือ คุณสมบัติ ซึ่งจะถูกบังทำให้เห็นไม่ชัดครับ

สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้
สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้ ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าให้ขีดเส้นใต้ที่ตัวนี้นะ
ซึ่งเท่าที่ผมหาเจอมีดังนี้ครับ

  1. ตัวแรก &
    คือตัวที่เราใช้แทนคำว่า and หรือ และ นั่นแหละครับวิธีใช้ก็ง่ายครับแค่ขยับหรือแทรกตัว & นี้ที่ตัวที่ต้องการขีดเส้นใต้เท่านั้นเอง เช่น
    แ&ฟ้ม        เป็น   แ้ม
    &บันทึก      เป็น   ันทึก
    บั&นทึกเป็น เป็น   บัทึกเป็น
    &พิมพ์        เป็น    ิมพ์
    คุณ&สมบัติ  เป็น    คุณมบัติ
    &ออก        เป็น    อก
    คงมีคนสงสัยนะครับว่าแล้วถ้าเราต้องการแสดงตัว & ทำยังไงเช่น เว็บ & บล็อก
    ก็ให้ใส่ไปอีกตัวครับเป็น เว็บ && บล็อก เวลาแสดงผลก็จะเห็นเป็น เว็บ & บล็อก ถ้าต้นฉบับใส่แค่ เว็บ & บล็อก ผลลัพธ์ก็จะแสดงเป็น เว็บ ล็อก
        
  2. ตัวที่ 2 &
    วิธีใช้ก็เหมือนกับตัวแรกครับ แค่ยาวกว่าเท่านั้นเอง และควรดูว่า & ยังคงเป็น & นะครับไม่งั้นถ้าเกิด แ&ฟ้ม แต่ใส่ผิดที่เป็น แ&ฟ้มamp; หรือ แ&ฟ้ม& ก็จะเกิดข้อผิดพลาดแสดงผลไม่ได้หรือแสดงผลผิดครับ (& เป็นรหัสของ & ในภาษา html)

สุดท้ายมีหลายคนถามว่า ถ้าต้นฉบับมีการขีดเส้นใต้แต่เราจะไม่ใส่ได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ครับ ผมเองเคยเห็น หลายโปรแกรมที่ต้นฉบับมีแต่พอเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยกับไม่มีเลยซักที่ ก็…
ไม่มีก็ได้ครับไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่เป็นการเสียเวลามากนักผมก็ขอรบกวนให้ช่วยมีให้หน่อยนะครับเพื่อว่า

  1. จะได้สะดวกแก่ผู้ใช้ที่ถนัดการใช้คีย์ลัด (คุณใช้ไม่เป็นหรือไม่ได้ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีใครใช้นะครับ)
  2. ทำให้คุณดูเป็นอาชีพมากขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเพียงมือสมัครเล่นในด้านการแปลโปรแกรมก็ตาม
    แต่เป็นมือหมักเล่น     ที่ได้ชื่อว่า        เป็นมืออาชีพ ดีกว่าได้ชื่อว่า
    เป็นมืออาชีพ            ที่ฝีมือ            หมักเล่นนะครับ ยิ้มหน่ภ??ครับ


อ่านก่อนแปล
และเรื่องสุดท้ายที่อยากจะฝากวันนี้ก็คือ ก่อนแปลขอรบกวนให้ ช่วยอ่านวิธีแปลก่อนที่จะแปลทุกครั้งนะครับ
ถึงแม้ว่าคุณจะเคยแปลโปรแกรมมากี่สิบกี่ร้อยโปรแกรมแล้วก็ตาม รบกวนอ่านก่อนนิดนึงครับ ว่า

  • เขายินดีรับการแปลของภาษาอื่นๆหรือไม่
  • เขามีนักแปลของเขาเองแล้วก็ยัง ถึงแม้ว่าในโปรแกรมรุ่นล่าสุดที่เราดาวน์โหลดมาจะยังไม่มีภาษาไทยก็ตาม
    แต่เขาอาจจะมีนักแปลอยู่แล้วและกำลังแปลอยู่แต่ยังไม่ได้เพิ่มในโปรแกรม
  • เขาอาจจะมีไฟล์ภาษาไทยและภาษาอื่นๆ อยู่แล้วแต่ไม่มีในโปรแกรม แต่สามารถดาวน์โหลดเพิ่มได้บนอินเตอร์เน็ต
  • บางโปรแกรมเขาหยุดการพัฒนาและการสนับสนุนไปแล้ว ถึงเราจะตั้งใจแปลแค่ไหนส่งไป ก็ไม่มีประโยชน์ครับ แถมอายเขาอีกตังหาก

คุณสมบัติของนักแปลโปรแกรม

สิ่งจำเป็นที่นักแปลโปรแกรมควรมีหรือควรเป็น
        จากที่ผมได้แนะนำคุณสมบัติอย่างคร่าวๆของผู้ที่สามารถแปลเมนูโปรแกรมไปแล้วใน วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย มาวันนี้ผมจะแนะนำคุณสมบัติของผู้ที่สามารถแปลเมนูโปรแกรมได้
        โดยในหัวข้อนี้ผมจะบอกว่าอะไรที่จำเป็นต้องมีหรือต้องเป็น และอะไรที่ไม่จำเป็น
เริ่มกันเลยครับ
นักแปลเมนูโปรแกรมนั้น

  • ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิปริญญา(หรือจะมีก็ไม่ว่าครับ) เพราะผมเองก็ไม่มีเหมือนกัน
  • ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา เพศและวัย
  • ไม่จำเป็นต้องหน้าตาดี (แต่ถ้าคุณสวย จิตใจดีและรักเด็กด้วย คุณควรไปประกวดนางสาวไทย หลังจากแปลโปรแกรมแล้ว)
  • ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
  • ไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนโปรแกรมเป็น (แค่ใช้โปรแกรมเป็นก็พอ) แต่ถ้าเป็นก็จะดี หรือควรเคยใช้โปรแกรมเขียนโปรแกรมพวก VB หรือ VC มาบ้าง
  • ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ดีดเป็น แต่ควรจะจิ้มดีดได้เร็วหน่อย ถ้าจะใช้การคัดลอกจากโปรแกรมช่วยแปลควรใช้คีย์ลัดให้เป็น
  • ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษ แต่(อย่างน้อย)ควรจะถนัดภาษาไทย (หรือภาษาลาวในกรณีที่คุณต้องการแปลเป็นภาษาลาว)
  • ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทย ถ้าคุณสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
  • ไม่จำเป็นต้องเป็นล่ามอาชีพ เพราะเรามีโปรแกรมช่วยแปลให้ใช้ (แต่ไม่ควรลอกมาทั้งดุ้น โดยไม่คิดหรือไม่ดูเลย)
  • ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ สมรรถนะสูง(แต่ตัวคุณเองควรมีสมรรถนะสูงแทน) เพราะเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ ที่ร้านเน็ต ที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน ทดสอบการแสดงภาษาไทยในกรณีที่โปรแกรมใช้ทรัพยากรสูงมากๆได้ ผมเองมักจะใช้เครื่องที่ร้านเน็ตทดสอบภาษาไทยของโปรแกรมที่ยังไม่ลงทะเบียน หรือโปรแกรมที่เครื่องผมเปิดไม่ได้
  • ไม่จำเป็นต้องต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา แต่ควรจะ
    • ดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุดของโปรแกรมและไฟล์ภาษาก่อนแปล
    • แปลให้เร็วส่งให้ไว
    • ตรวจสอบการอัพเดตของโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ
  • อย่าผูกใจเจ็บเวลาถูกเพื่อนแย่งแปลก่อน
  • ตอบเมลล์ขอบคุณผู้พัฒนาโปรแกรมเมื่อเขาตอบกลับเราหรือให้รหัสลงทะเบียนแก่เรา
  • ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ทำงานอย่างรอบคอบ แต่ควรเป็นคนที่ทำงานอย่างรอบคอบอย่างที่สุดครับ และคุณยังสามารถ(และควร)ใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) ในการตรวจสอบคำผิดในไฟล์ภาษาที่แปลแล้วก่อนส่งอีกครั้ง
  • ไม่ต้องลอกราชบัณฑิตมาทั้งหมด ในบางกรณีการใช้ภาษาธรรมดาหรือคำทับศัพท์อาจเข้าใจง่ายกว่า
  • ไม่ต้องแปลโดยใช้ภาษาที่เลิศเลอเฟอร์เฟกต์ แต่ควรแปลโดยใช้ภาษาที่เรียบง่าย ถูกต้อง
  • ไม่ต้องแปลให้เหมือนคนอื่นทั้งหมด แต่ก็ควรเป็นภาษามวลชน (ภาษาที่คนส่วนใหญ่ใช้และเข้าใจ)
    • การแปลให้เป็นภาษามวลชน ควรดูด้วยว่ามวลชนแปลถูกต้องหรือไม่ด้วย หากไม่ถูกเราก็ไม่ต้องตามมวลชน
  • มีบางข้อที่ผมคิดไว้แต่ตกไปเพราะว่าไม่มีสาระเช่น
    • ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์
    • (ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์) สามารถเริ่มงานได้ทันที
    • สามารถทำนอกเวลาได้
    • เลือกเวลาทำงานเองได้
    • ไม่ต้องวางเงินมัดจำ
    • สามารถเลือกงานที่สนใจ(โปรแกรมที่จะแปล)เองได้

    หมายเหตุ : เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลครับ และขออภัยที่มีสาระบ้างไม่มีบ้าง

    วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย

    มาสอนโปรแกรมฝรั่งให้หัดพูดไทยกันเถอะ

            ถ้าผมบอกคุณว่า เมื่อคุณได้อ่านเรื่องนี้แล้วคุณสามารถที่จะทำให้ชื่อคุณเองเป็นหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาโปรแกรมได้(แม้ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นเหมือนกับผมก็ตาม)คุณจะเชื่อมั๊ยครับ
            ครับถึงแม้ว่าเราจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นแต่เราก็สามารถที่จะมีชื่อเป็นหนึ่งในทีมงานของผู้พัฒนาโปรแกรมได้ ทำได้อย่างไรเชิญติดตามอ่านได้ ณ บัดนี้ครับ
    แรงบันดาลใจ
            ก่อนอื่นขออนุญาตเล่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมอยากแปลโปรแกรมก่อนนะครับ ก็เริ่มมาจากที่ผมเห็นโปรแกรมฟังเพลงที่เรารู้จักกันดีมีเมนูไทยด้วย ก็ “วินแอมป์”ไงครับ แล้วเมื่อผมคลิกไปดูที่หน้าเกี่ยวกับวินแอมป์ ผมก็เห็นข้อความที่ว่า “ภาษาไทยโดย วิพัฒน์รณ พิทยาธิคุณ” ผมก็เลยคิดว่าทำอย่างไรหนอเราถึงจะมีชื่อแบบนี้บ้าง ตอนนั้นนะครับผมยังใช้โปรแกรม Notepad ไม่เป็นด้วยซ้ำ แต่บังเอิญผมอ่านหนังสือเจอว่าไฟล์ต่างๆเช่น html หรือ asp นั้นสามารถเปิดใน Notepad ได้ ผมก็เลยลองเปิดไฟล์อื่นๆ รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุล .lng โป๊ะเช๊ะ เลยครับ นับจากนั้นมาผมก็เริ่มแปลโปรแกรมต่างๆเริ่มจากโปรแกรม Ram Saver Pro

    ภาพ winamp

    วิธีหาโปรแกรมมาแปลและวิธีดูว่าโปรแกรมนั้นๆแปลได้หรือไม่
            การหาโปรแกรมมาแปลก็ทำได้โดย
            -ค้นหาใน Google หรือเว็บไซต์บริการดาวน์โหลดต่างๆเช่น Download.com หรือ DownSeek.com ด้วยคำว่า “multi lang”
            -และอีกวิธีที่ง่ายและได้ผลดีและมีโปรแกรมให้มากที่สุดก็คือ หาตามนิตยาสารคอมพิวเตอร์ครับ ผมเองได้โปรแกรมมาแปลหลายตัวจากวิธีนี้
            -ส่วนใครที่หาไม่ได้จริงๆคอมเมนต์ขอผมมาก็ได้ครับ

    ส่วนวิธีการดูว่าโปรแกรมนั้นแปลได้หรือไม่มีดังนี้
            1. ดูที่เมนูโปรแกรมว่ามีคำว่า Language หรือเปล่า

    ภาพโปรแกรมที่มีเมนู Lang

            2. เข้าไปดูที่โฟลเดอร์ของโปรแกรมว่ามีโฟลเดอร์หรือไฟล์ชื่อ Lng, Lang, Language หรือ Locale หรือไม่

    ภาพไฟล์ .lng ในโฟลเดภ??์ Languages

    รูปแบบไฟล์ภาษาแบบต่างๆ
            ชนิดไฟล์หรือนามสกุลของไฟล์ภาษาที่พบบ่อยมีดังนี้ครับ
    1. แบบไฟล์ข้อความธรรมดาซึ่งส่วนมากจะมีนามสกุล lng หรือ lang ย่อมาจาก Language หรือ ini ,inf หรือบางโปรแกรมก็ใช้ txt ธรรมดา โดยวิธีการเปิดไฟล์นี้ที่ง่ายที่สุดก็คือ เปิดโปรแกรม notepad แล้วใช้การลากไฟล์ไปวางในโปรแกรม Notepad ได้เลยครับ
    2. xml ภาษา xml ไฟล์แบบนี้ต้องระวังในส่วน encoding ให้ดีนะครับ
    3. po ไฟล์แบบนี้เรียกว่า GNU gettext ส่วนโปรแกรมที่ใช้แก้ไขโปรแกรมนี้เรียกว่า GNU gettext tools ผมขอแนะนำให้ใช้โปรแกรม poEdit ครับมีภาษาไทยเหมือนกัน(แปลโดยคุณ pun) ใช้ได้ทั้งบนวินโดวส์ ลีนุกซ์และ Mac โดยไฟล์ต้นแบบจะมีนามสกุล pot ต้องเปลี่ยนเป็น po ก่อน (ถ้ามีนามสกุลเป็น po อยู่แล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนครับ)เมื่อบันทึกแล้ว จะมีนามสกุล mo ตอนส่งก็ส่งไปทั้งแบบ po และ mo เลยครับโดยไฟล์ pot หาได้ที่เว็บไซต์ของโปรแกรมและที่

    http://www.debian.org/international/l10n/po/pot

    4. Dll ส่วนมากไฟล์แบบนี้ตัว source จะเป็นไฟล์ .rc ต้อง compile ด้วยภาษา C
    5. แบบอื่นๆเช่น
    -บางโปรแกรมจะใช้วิธีฝังหรือ Embed ไฟล์ภาษาไว้ในโปรแกรมเลย
    -บางโปรแกรมก็รวมภาษาต่างๆไว้ในไฟล์เดียวกันก็มี
    โดยวิธีการแปลโปรแกรมเหล่านี้เราต้องติดต่อไปยังผู้พัฒนาโปรแกรมนั้นๆเพื่อสอบถามวิธีการแปลเองครับ

    เตรียมเครื่องมือ
            การแปลภาษาไทยให้โปรแกรมใช้อะไรบ้าง
    1. ใจที่รักที่จะทำครับ เนื่องจากการแปลเมนูโปรแกรมไม่มีค่าจ้างเป็นเงิน
    2. โปรแกรม Text Editor หรือโปรแกรมแก้ไขข้อความ เช่น Notepad (มีในวินโดวส์อยู่แล้ว)หรือโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป
    3. โปรแกรม Poedit ดาวน์โหลดได้ที่ poedit.net เตรียมไว้ใช้กับไฟล์ po ครับเพราะเดี๋ยวนี้เริ่มมีหลายโปรแกรมใช้ไฟล์แบบนี้กันเยอะขึ้น

    ภาพโปรแกรม Poedit

    โปรแกรมอื่นๆที่คล้ายกันเช่น kbabel และ gtranslator
    4. พจนานุกรม (สามารถใช้โปรแกรมพจนานุกรมได้เพื่อความสะดวก) โปรแกรมแปลภาษาและตัวอย่างคำแปล
    ผมเองใช้
    โปรแกรมพจนานุกรม ของ Thai Software Dictionary รุ่น 4.0
    โปรแกรมแปลภาษา ใช้ แปลไทย 2000
    และตัวอย่างคำแปลในข้อ 5 ครับ
    5. ไฟล์ all_glossary.csv เป็นไฟล์ตัวอย่างคำแปลที่พบบ่อยครับ มีประโยชน์มากหาได้ที่
    http://www.opentle.org/ossglossary/
    6. พื้นฐานภาษาอังกฤษพออ่านออก ไม่ถึงต้องเก่งมากหรอกครับเพราะเราสามารถใช้โปรแกรมพจนานุกรมและตัวอย่างคำแปลช่วยได้
    7. คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสเป๊กไม่ต้องสูงมากเอาให้สามารถเปิดโปรแกรมที่เราจะแปลได้ก็พอ+พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์อีกเล็กน้อย
    8. อินเตอร์เน็ตสำหรับส่งไฟล์ภาษาที่เราแปลแล้วครับ ผมเองเคยพลาดหลายโปรแกรมเพราะว่าส่งช้า เนื่องจากว่าไม่มีเงินเข้าร้านเน็ต

    การเข้ารหัสข้อความและรหัสภาษา
            ในการบันทึกไฟล์ถ้าต้องมีการกำหนดเกี่ยวกับภาษา อันดับแรกให้ลองบันทึกตามต้นฉบับโดยที่ไม่ต้องแก้ไขรหัสภาษา ถ้าไม่ได้ ข้อมูลต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้ครับ
    1. Language ID ของภาษาไทยคือ 1054 และอีกแบบคือ $041e หรือ 041e หรือ 41e (41e คือเลขฐาน16 ของ 1054)
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    http://www.microsoft.com/globaldev/reference/lcid-all.mspx
    http://msdn.microsoft.com/en-us/library/0h88fahh.aspx
    http://helpnet.acresso.com/robo/projects/helplibdevstudio9/ihelpgloblangidentifiers.htm
    http://www.wwp.brown.edu/encoding/training/ISO/iso639.html
    2. Codepage ให้ลองเลือกจากรายการต่อไปนี้
    UTF-8
    tis-620
    iso-8859-11
    windows-874

    การแปลวิธีใช้
            ไฟล์วิธีใช้หรือ Help File นั้นโดยปรกติมี 2 แบบคือแบบ .hlp และแบบ .chm แต่โดยปรกตินักแปลโปรแกรมน้อยรายที่จะแปลวิธีใช้ แต่ถ้าเราแปลได้ก็จะเป็นสร้างความแตกต่างให้กับผู้แปลเองและเป็นการดีกับผู้ใช้ชาวไทยเราด้วยครับ ผมเองเคยแปลของ Ram Saver Pro สมัยที่เป็นไฟล์แบบ hlp แต่พอพัฒนามาเป็น chm ก็ยังไม่ได้แปลซึ่งความจริงแล้วสามารถแปลงจาก hlp เป็น chm ได้ แต่ข้อมูลผมหายหมดก็เลยยังไม่ได้แปล ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยลดภาระโลกร้อน(เกี่ยวกันไหมนี่) ผมขออนุญาตเล่าแบบย่อๆดังนี้ครับ
      –ไฟล์ chm ให้ Decompiler ด้วยโปรแกรม HTML Help Workshop โปรแกรมนี้มีในแผ่นโปรแกรม Visual Studio 6 จากนั้นก็แปลข้อความในไฟล์ html ที่ได้จากการ Decompiler แล้วก็ compiler ใหม่อีกครั้ง
      –ไฟล์ hlp วิธีการคล้ายกับแบบ chm แต่การ Decompiler ไฟล์นี้จะต่างออกไปโดยโปรแกรมตัวที่ผมใช้ผมดาวน์โหลดจาก planet-source-code.com เป็น source code ของ vb6 (ค้นหาคำว่า Help Decompiler ผู้เขียนคือ ALKO)โปรแกรมที่ใช้ Compiler ไฟล์นี้ชื่อ Help Compiler Workshop (HCW) ของไมโครซอฟต์เช่นกัน

    เริ่มกันเลย
            มาเริ่มกันเลยนะครับโดยตัวอย่างผมจะสาธิตวิธีการแปลโปรแกรม Cryptic Disk เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเข้ารหัสดิสก์ดาวน์โหลดได้ที่ Exlade.com เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้วผมก็จะเปิดไปที่โฟลเดอร์ของโปรแกรมที่ผมเลือกให้ติดตั้งคือ c:\Program Files\Cryptic Disk++(ปรกติจะอยู่ที่c:\Program Files\Cryptic Disk++ ครับ)\

    ภาพโฟลเดภ??์โปรแกรม Cryptic Disk

            ดังภาพ จะเห็นได้ว่ามีทั้งโฟลเดอร์ชื่อ Languages และไฟล์ชื่อ Default.lng ซึ่งในโปรแกรมนี้ไฟล์ Default.lng เป็นไฟล์ต้นฉบับภาษาอังกฤษถ้าในโปรแกรมอื่นมักจะมีไฟล์ English.lng อยู่ในโฟลเดอร์ Languages ซึ่งเราสามารถใช้เป็นต้นแบบโดยคัดลอกแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Thai.lng

    ภาพเปลี่ยนชื่ภ??ฟล์ eng.lngเป็น thai.lng

            เมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วก็ทำเปิดโดยการลากไฟล์ไปปล่อยใน notepad ดังภาพเสร็จแล้วก็เริ่มแปลกันเลย โดยส่วนที่มีเครื่องหมาย ; เป็นคำอธิบาย จะไม่ถูกนำไปใช้สามารถใส่อะไรก็ได้ครับ

    ภาพเปิดไฟล์ Thai.lng ด้วยโปรแกรม Notepad

            ตัวอย่างการตั้งค่าในส่วน [LangOptions]
    LanguageName=Thai (ไทย) <<<- – – ชื่อภาษาที่จะแสดงที่เมนู
    LanguageID=1054 <<<- – – รหัสภาษา
    LanguageHelp=crdisk.chm <<<- – – ชื่อไฟล์วิธีใช้สามารถเปลี่ยนเป็นไฟล์ที่เราแปลแล้วได้ครับ
    LanguageCodePage=874 <<<- – – การเข้ารหัส
    LanguageExt=com <<<- – – ชื่อท้ายเว็บไซต์(ดอตคอม)
            จากนั้นก็แปลในส่วนอื่นๆตามปรกติ โดยส่วนที่มีเครื่องหมาย [ ] ไม่ต้องแปลนะครับ

    ส่งได้เลย
            เมื่อแปลเสร็จแล้วก็ส่งได้เลย

    ภาพโปรแกรม Cryptic Disk เมื่ภ??ปลเป็นไทยแล้ว

            ก่อนส่งก็อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องก่อนอีกครั้งนะครับหรือจะเอาไปลองกับเครื่องอื่นๆดูก่อนก็ได้ เช่นถ้าตอนที่เราแปลใช้ วินโดวส์95 เมื่อนำไปใช้กับ วินโดวส์Xp อาจแสดงผลต่างกัน อย่าลืมตรวจสอบคำถูกผิดด้วยนะครับ

    สิ่งที่เราจะได้รับ
            1. ได้ใช้โปรแกรมฟรีๆ ในกรณีที่โปรแกรมที่เราแปลเป็นโปรแกรมที่ต้องลงทะเบียนหรือแชร์แวร์ทางผู้พัฒนาโปรแกรมจะตอบแทนน้ำใจเราด้วยการให้รหัสลงทะเบียนกับเราฟรีๆเลยครับ ยิ่งถ้าเป็นโปรแกรมใหญ่หรือโปรแกรมที่ราคาแพงเราก็ยิ่งคุ้มครับ ดังภาพเป็นเมลล์ที่ CEO ของ Exlade.com ส่งรหัสลงทะเบียนมาให้ผมครับ

    รหัสลงทะเบียนโปรแกรม Cryptic Disk

            2. ได้ความภูมิใจ เพราะว่าจะได้ มีชื่อโชว์ที่โปรแกรมว่าเราเป็นคนแปลภาษาไทย ให้โปรแกรมนี้นะเอ้อ เอาไว้อวดเพื่อนๆที่โรงเรียน ที่มหาลัย หรือที่ทำงานก็ได้ครับโก้ดีออกผมว่า
            3. ที่ว่ามา เป็นสิ่งที่เราจะได้รับแบบทางตรงครับ ส่วนผลทางอ้อมที่เราจะได้รับก็คือ เราได้ฝึกภาษาและฝึกพิมพ์ดีดไปในตัวครับผมเองใช้การแปลเมนูโปรแกรมนี้เป็นการฝึกจิ้มดีด

    รายชื่อโปรแกรมที่มีภาษาไทยและชื่อผู้แปล บางส่วน ครับ
    โปรแกรม ผู้แปล
    FlashGet กฤติวัฒน์ เมธีกุล
    Winamp 2.x วิพัฒน์รณ พิทยาธิคุณจ
    Winamp 5.1 สมคเน หัตถกรรม
    WinRar ชวรณ ตู้จินดาจ
    CDex บริพัตร หาญวิเศษ
    Opera 5 ยงยุทธ บุญเชิด
    IsoBuster ธนวัฒน์
    7-Zip Zafire06
    Spybot – Search & Destroy Phanu Wasusin
    PhpMyAdmin Arthit Suriyawongkul

            สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่สนใจที่จะให้โปรแกรมของคุณมีหลายภาษา สามารถค้นหา Source code ได้ที่ planet-source-code.com หรือ sourceforge.com ด้วยคำว่า “multi lang” ได้ครับ

    แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลโปรแกรม

            สำหรับคุณผู้อ่านที่มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับในการแปลโปรแกรมต่างๆสอบถามมาได้ตลอดเวลาครับ ผมอาจจะตอบช้าหน่อย(ไม่มีตังค์ครับ)แต่ตอบแน่นอนครับ