สวัสดีครับวันนี้มาที่ร้านเน็ตประมาณเเที่ยง 40 ค้นหาบล็อกของตัวเองที่ msn เจอ1 รายการมันลิงค์ไปที่
วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย เห็นมีโฆษณาการกุศลของ Google ด้วยแปลกดีแฮะ
แต่ก็ดีครับได้ทำบุญ ^-^
สวัสดีครับวันนี้มาที่ร้านเน็ตประมาณเเที่ยง 40 ค้นหาบล็อกของตัวเองที่ msn เจอ1 รายการมันลิงค์ไปที่
วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย เห็นมีโฆษณาการกุศลของ Google ด้วยแปลกดีแฮะ
แต่ก็ดีครับได้ทำบุญ ^-^
หวัดดีครับ วันนี้ผมมีโปรแกรม แกะน้อย (sheep หรือ esheep) มาฝากครับ โปรแกรมแบบนี้เรียกว่า screen mate (คล้ายกับ roommate ที่แปลว่าเพื่อนร่วมห้อง) เป็นโปรแกรมเพื่อนหน้าจอ
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะไม่มีหน้าต่างโปรแกรม แต่จะเห็นแกะตัวน้อยๆ สีนวลๆ(คล้ายกับสีเหลืองหรือส้ม) หล่นลงมาจากด้านบนของจอภาพ แล้วก็เดินไปเดินมาที่หน้าจอ เดินมั่ง กลิ้งมั่ง วิ่งบ้าง แต่ถ้าเราทิ้งไว้นานๆก็จะหลับ มีเสียงหาวด้วย เวลานั่งทำงานดึกๆแทนที่จะเป็นเพื่อนกลับพาให้หลับครับ พอเราขยับเมาส์ก็จะตื่นมาเดินต่อ
สำหรับท่านที่ใช้อินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 42 หรือก่อนนั้นอาจจะเคยเห็นแกะตัวนี้กันมาบ้างแล้วนะครับ เพราะว่าแกะตัวนี้ฮิตมากในช่วงปีนั้น
ดาวน์โหลด
จากบล็อกนี้คลิกที่นี่ครับ sheep.exe sheep.zip
ภาพกิจกรรมต่างๆของแกะน้อย
ช็อตพิเศษ
การตั้งค่าโปรแกรม
1. ปิดอย่างเร็ว ดับเบิลคลิกขวา 2. เปิดหน้าต่างตั้งค่า ดับเบิลคลิก – Soundปิด/เปิดเสียง(เช่นเสียงหาว เสียงจาม) – Alarm ปิด/เปิดเสียงปลุก – No Sleep ห้ามหลับ – G-Force ไม่ทราบครับ – ปุ่ม Remove ปิดแกะน้อย |
สวัสดีครับ ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมบล็อกของเรานะครับ วันนี้ผมก็มีเรื่องสองสามเรื่องมาเล่าให้ฟังเหมือนเดิมครับ
หัวข้อ
ควรแปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม
ในบางโปรแกรม ถ้าคำเดียวกันจะมีที่เดียวแต่ก็มีเหมือนกันที่คำเดียวแต่มีหลายที่ ดังนั้นหากคำต้นฉบับใช้คำเดียวกันเราก็ควรที่แปลให้เหมือนกันทั้งโปรแกรม หรือทุกโปรแกรมจากเว็บไซต์เดียวกัน(ในกรณีที่เว็บไซต์นั้นๆมีหลายโปรแกรม)
ซึ่งวิธีการนั้นก็ทำได้ง่ายๆครับ โดยใช้คำสั่ง แทนที่ หรือ replace ในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป ตัวผมเองแม้กระทั่งคำว่า Yes No OK หรือ Cancel ผมก็ใช้การแทนที่ข้อความแบบนี้ และการใช้คำสั่งนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือช่วยป้องกันการพิมพ์ผิดได้อีกด้วยครับ คือถึงพิมพ์ผิดก็จะหาได้ง่ายเพราะจะผิดหลายที่ทำให้เห็นได้ง่าย และข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือช่วยเพิ่มความเร็วในการแปลเพราะว่าเราไม่ต้องมานั่งพิมพ์เดิมซ้ำๆ
ความยาวของข้อความ
เนื่องจากว่าการแปลโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่การแปลอื่นๆไม่มี นั่นก็คือ การแปลเมนูโปรแกรม(บางโปรแกรม)มีการจำกัดพื้นที่การแสดงผลที่จะต้องไม่เกินพื้นที่ที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ เช่นปุ่ม หากแปลว่า อาจจะยาวไปจนแสดงไม่ได้ แต่ถ้าแปลว่า หรือ ก็จะทำให้ข้อความสั้นลงไปเยอะเลยนะครับ
ดังนั้นเราจึงควร
การใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง
ผมไม่รู้ว่าเขาเรียกการขีดเส้นใต้คำในเมนู เช่น แฟ้ม แก้ไข มุมมอง หรือ about ว่ายังไง ผมก็ขอเรียกว่า ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่ง ก็แล้วกัน โดยที่ประโยชน์ของตัวเลือกนี้ก็คือ การเรียกใช้คำสั่งโดยไม่ต้องใช้เมาส์คลิกแต่ใช่คีย์บอร์ดแทน เช่น ถ้าเราจะไปที่เมนู File หรือ แฟ้ม เราก็กดปุ่ม ALT (อยู่ใกล้กับปุ่มที่ยาวที่สุดด้านล่าง)ตามด้วยตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้คือ F หรือ ฟ ในโปรแกรมส่วนมากมักจะมีตัวเลือกนี้ครับ แต่บางโปรแกรมจะไม่แสดงจนกว่าเราจะกดปุ่ม Alt
โดยการใส่ขีดเส้นใต้เมนู+คำสั่งนี้ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ
สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้
สัญลักษณ์กำหนดการขีดเส้นใต้ ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าให้ขีดเส้นใต้ที่ตัวนี้นะ
ซึ่งเท่าที่ผมหาเจอมีดังนี้ครับ
สุดท้ายมีหลายคนถามว่า ถ้าต้นฉบับมีการขีดเส้นใต้แต่เราจะไม่ใส่ได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ครับ ผมเองเคยเห็น หลายโปรแกรมที่ต้นฉบับมีแต่พอเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยกับไม่มีเลยซักที่ ก็…
ไม่มีก็ได้ครับไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่เป็นการเสียเวลามากนักผมก็ขอรบกวนให้ช่วยมีให้หน่อยนะครับเพื่อว่า
อ่านก่อนแปล
และเรื่องสุดท้ายที่อยากจะฝากวันนี้ก็คือ ก่อนแปลขอรบกวนให้ ช่วยอ่านวิธีแปลก่อนที่จะแปลทุกครั้งนะครับ
ถึงแม้ว่าคุณจะเคยแปลโปรแกรมมากี่สิบกี่ร้อยโปรแกรมแล้วก็ตาม รบกวนอ่านก่อนนิดนึงครับ ว่า
สิ่งจำเป็นที่นักแปลโปรแกรมควรมีหรือควรเป็น
จากที่ผมได้แนะนำคุณสมบัติอย่างคร่าวๆของผู้ที่สามารถแปลเมนูโปรแกรมไปแล้วใน วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย มาวันนี้ผมจะแนะนำคุณสมบัติของผู้ที่สามารถแปลเมนูโปรแกรมได้
โดยในหัวข้อนี้ผมจะบอกว่าอะไรที่จำเป็นต้องมีหรือต้องเป็น และอะไรที่ไม่จำเป็น
เริ่มกันเลยครับ
นักแปลเมนูโปรแกรมนั้น
หมายเหตุ : เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลครับ และขออภัยที่มีสาระบ้างไม่มีบ้าง
MemoryBooster 3.0
ครับจากที่เมื่อวานผมได้เขียนเรื่อง วิธีใช้ RamSaverPro ไปแล้วซึ่งเป็นโปรแกรมแชร์แวร์ แต่สำหรับคนที่ชอบโปรแกรมฟรีหรือต้องการความสบายใจในการใช้งานแบบฟรีๆ ผมก็มีโปรแกรมอีกหนึ่งตัว มาเสนอครับ โดยเมื่อเราไปที่เว็บไซต์ Wintools.net เพื่อดาวน์โหลด RamsaverPro แล้วก็ให้แวะดาวน์โหลดโปรแกรม MemoryBooster 3.0 Free ติดมาด้วยนะครับ หรือใช้ลิงค์เหล่านี้ ได้โดยตรงครับ
รายการ | รายละเอียด |
จาก WinTools.net | ยังไม่มีภาษาไทยครับ |
ไฟล์ exe | ไฟล์แบบแตกตัวได้เอง (sfx) |
ไฟล์ zip | แตกไฟล์ออกแล้วใช้ได้ทันที |
ไฟล์ ซอร์สโค้ด (735 KB) | ซอร์สโค้ดภาษา C |
จากบล็อกนี้ | |
ไฟล์ภาษาไทย (2.77 KB) | ไว้ใช้กับชุดที่ดาวน์โหลดจาก WinTools.net |
Portable (604 KB) | เปิดใช้งานได้ทันที มีภาษาไทยอยู่แล้ว |
ชุดติดตั้ง(687 KB) | เป็นไฟล์ sfx ใช้แตกไฟล์ไปที่ Program Files |
โดยชื่อก็บอกแล้วครับว่าฟรีส่วนความสามารถต่างๆก็ใกล้เคียงกับรุ่นพี่อย่าง RamSaverPro เพียงแต่มีเครื่องมือให้ใช้น้อยกว่าเท่านั้นเองดังนี้
1. ที่ system tray จะไม่แสดงเป็นตัวเลขสถานะของแรม แต่จะแสดงเป็นไอคอนรูปแรม 3 สี สีเขียวเมื่อมีแรมเหลืออยู่มาก สีเหลืองเมื่อแรมเริ่มลดลงปานกลาง และสีแดงเมื่อแรมลดลงเหลือน้อย
และจะแสดงตัวเลขแรมเมื่อเราชี้บนไอคอนนี้ครับ
2. เมื่อคลิกขวาที่ไอคอนนี้จะมีเมนูดังภาพ
3. แถบหน่วยความจำ มีปุ่มเพิ่มแรมและกำหนดแรมที่จะแรม
4. การประมวลผลแสดงกระบวนการที่กำลังโหลด มีปุ่มให้ปิดกระบวนการ
5. ตัวเลือก เป็นการตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม ที่ควรเลือกไว้ก็คือ เริ่มโปรแกรมเมื่อเปิดเครื่อง กับ เพิ่มแรมอัตโนมัติครับ
โปรแกรมนี้ไม่ต้องติดตั้งนะครับ แตกไฟล์ zip แล้วก็ใช้ได้เลย สามารถเก็บใส่แฟลชไดรฟ์ใช้เป็นโปรแกรมแบบ Portable ได้ทันที
ในกรณีที่คุณดาวน์โหลดโปรแกรมจาก wintools.net จะไม่มีภาษาไทย ให้คลิกดาวน์โหลดไฟล์ภาษาไทยที่ลิงค์ด้านบน จากนั้นแตกไฟล์ Thai.lng และ default.lng ไปไว้ในโฟลเดอร์ Lang ในโฟลเดอร์ของโปรแกรมนะครับ
สุดท้ายนี้ ก็ขอให้มีความสุขในการใช้โปรแกรมนี้กันนะครับ
คราวหน้าผมจะหาโปรแกรมเพิ่มแรมในระบบปฏิบัติการอื่นมาฝากอีกครับ
ปลุกแรมที่หลับอู้ ให้กลับมาวิ่งสู้ฟัดดัวย Ram Saver Pro
เกริ่นนำ
หากคุณมีปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยๆ เพิ่มแรมแล้วแต่เครื่องยังช้าอยู่ เปิดโปรแกรมหลายตัวไม่ได้ และอยากรู้ว่า แรมที่มีอยู่หายไปไหนหมด วันนี้ผมมีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้มาฝากครับ
Ram Saver Pro คือคำตอบที่ว่านี้ โดยหลักการทำงานคร่าวๆของโปรแกรมนี้คือ
ข้อมูลจำเพาะ
ชื่อโปรแกรม: Ram Saver Pro 7
ผู้ผลิต: Godlike Developers SEG, Ltd.
ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.wintools.net
ความต้องการของระบบ
ซีพียู : Pentium ขึ้นไป
หน่วยความจำ(แรม) : ตั้งแต่ 16 เมกะไบต์ ขึ้นไป(รองรับสูงสุดได้ถึง 4 กิกะไบต์)
ฮาร์ดดิสก์ : พื้นที่ในการติดตั้งโปรแกรม 5 เมกะไบต์
ระบบปฏิบัติการ : วินโดวส์ 98/Me/2000/XP/Vista
ความละเอียดของจอที่ :640×480 ขึ้นไป
เริ่มดาวน์โหลดและติดตั้ง
ใช้งานครั้งแรก
การตั้งค่าโปรแกรม
อันที่จริงโปรแกรมนี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่องอยู่แล้ว โดยที่แทบไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติมใดๆ แต่ครับแต่ แต่ว่าเพื่อผลการทำงานที่ดีขึ้นเราก็ควรจะมีการตั้งค่าบ้างเล็กน้อยดังนี้
ย้ำอีกครั้งว่าการตั้งค่าเหล่านี้เป็นเพียงตัวเลือกหรือ option เท่านั้น ถ้าท่านจะไม่ตั้งค่าก็ไม่เป็นไรครับ
-ให้เลื่อนเลือกจำนวนแรมที่ต้องการเพิ่ม เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม เรียบร้อย
เสร็จแล้วครับกลับการตั้งค่าโปรแกรม ซึ่งตั้งเพียงครั้งเดียวก็พอ
การใช้งาน
อย่างที่บอกแล้วครับว่าโปรแกรมสามารถทำงานได้อัตโนมัติอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการแบบ Manual ก็ทำได้ดังนี้ครับ
สรุปครับ
หลังจากที่ได้ทดลองใช้ไปแล้ว โดยส่วนตัวแล้วได้ผลดีครับ เครื่องจะไม่ค่อยแฮงค์ เพราะโปรแกรมจะทำการเพิ่มแรมให้เราอัตโนมัติ หรือถ้าเราอยากเพิ่มแรมเองก็ง่าย ผมเองได้ใช้โปรแกรมนี้มาแล้วกว่า3ปีแล้วครับ โดยที่แทบจะไม่ต้องปรับแต่งส่วนอื่นเพิ่มเติมเลย (อันที่จริงเพราะว่าตั้งค่าไม่เป็นครับ) แต่ถ้าหากคุณผู้อ่านจะปรับแต่งส่วนอื่นเพิ่มด้วยก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเร็วให้ระบบไปอีกครับ
มาสอนโปรแกรมฝรั่งให้หัดพูดไทยกันเถอะ
ถ้าผมบอกคุณว่า เมื่อคุณได้อ่านเรื่องนี้แล้วคุณสามารถที่จะทำให้ชื่อคุณเองเป็นหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาโปรแกรมได้(แม้ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นเหมือนกับผมก็ตาม)คุณจะเชื่อมั๊ยครับ
ครับถึงแม้ว่าเราจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นแต่เราก็สามารถที่จะมีชื่อเป็นหนึ่งในทีมงานของผู้พัฒนาโปรแกรมได้ ทำได้อย่างไรเชิญติดตามอ่านได้ ณ บัดนี้ครับ
แรงบันดาลใจ
ก่อนอื่นขออนุญาตเล่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมอยากแปลโปรแกรมก่อนนะครับ ก็เริ่มมาจากที่ผมเห็นโปรแกรมฟังเพลงที่เรารู้จักกันดีมีเมนูไทยด้วย ก็ “วินแอมป์”ไงครับ แล้วเมื่อผมคลิกไปดูที่หน้าเกี่ยวกับวินแอมป์ ผมก็เห็นข้อความที่ว่า “ภาษาไทยโดย วิพัฒน์รณ พิทยาธิคุณ” ผมก็เลยคิดว่าทำอย่างไรหนอเราถึงจะมีชื่อแบบนี้บ้าง ตอนนั้นนะครับผมยังใช้โปรแกรม Notepad ไม่เป็นด้วยซ้ำ แต่บังเอิญผมอ่านหนังสือเจอว่าไฟล์ต่างๆเช่น html หรือ asp นั้นสามารถเปิดใน Notepad ได้ ผมก็เลยลองเปิดไฟล์อื่นๆ รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุล .lng โป๊ะเช๊ะ เลยครับ นับจากนั้นมาผมก็เริ่มแปลโปรแกรมต่างๆเริ่มจากโปรแกรม Ram Saver Pro
วิธีหาโปรแกรมมาแปลและวิธีดูว่าโปรแกรมนั้นๆแปลได้หรือไม่
การหาโปรแกรมมาแปลก็ทำได้โดย
-ค้นหาใน Google หรือเว็บไซต์บริการดาวน์โหลดต่างๆเช่น Download.com หรือ DownSeek.com ด้วยคำว่า “multi lang”
-และอีกวิธีที่ง่ายและได้ผลดีและมีโปรแกรมให้มากที่สุดก็คือ หาตามนิตยาสารคอมพิวเตอร์ครับ ผมเองได้โปรแกรมมาแปลหลายตัวจากวิธีนี้
-ส่วนใครที่หาไม่ได้จริงๆคอมเมนต์ขอผมมาก็ได้ครับ
ส่วนวิธีการดูว่าโปรแกรมนั้นแปลได้หรือไม่มีดังนี้
1. ดูที่เมนูโปรแกรมว่ามีคำว่า Language หรือเปล่า
2. เข้าไปดูที่โฟลเดอร์ของโปรแกรมว่ามีโฟลเดอร์หรือไฟล์ชื่อ Lng, Lang, Language หรือ Locale หรือไม่
รูปแบบไฟล์ภาษาแบบต่างๆ
ชนิดไฟล์หรือนามสกุลของไฟล์ภาษาที่พบบ่อยมีดังนี้ครับ
1. แบบไฟล์ข้อความธรรมดาซึ่งส่วนมากจะมีนามสกุล lng หรือ lang ย่อมาจาก Language หรือ ini ,inf หรือบางโปรแกรมก็ใช้ txt ธรรมดา โดยวิธีการเปิดไฟล์นี้ที่ง่ายที่สุดก็คือ เปิดโปรแกรม notepad แล้วใช้การลากไฟล์ไปวางในโปรแกรม Notepad ได้เลยครับ
2. xml ภาษา xml ไฟล์แบบนี้ต้องระวังในส่วน encoding ให้ดีนะครับ
3. po ไฟล์แบบนี้เรียกว่า GNU gettext ส่วนโปรแกรมที่ใช้แก้ไขโปรแกรมนี้เรียกว่า GNU gettext tools ผมขอแนะนำให้ใช้โปรแกรม poEdit ครับมีภาษาไทยเหมือนกัน(แปลโดยคุณ pun) ใช้ได้ทั้งบนวินโดวส์ ลีนุกซ์และ Mac โดยไฟล์ต้นแบบจะมีนามสกุล pot ต้องเปลี่ยนเป็น po ก่อน (ถ้ามีนามสกุลเป็น po อยู่แล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนครับ)เมื่อบันทึกแล้ว จะมีนามสกุล mo ตอนส่งก็ส่งไปทั้งแบบ po และ mo เลยครับโดยไฟล์ pot หาได้ที่เว็บไซต์ของโปรแกรมและที่
http://www.debian.org/international/l10n/po/pot
4. Dll ส่วนมากไฟล์แบบนี้ตัว source จะเป็นไฟล์ .rc ต้อง compile ด้วยภาษา C
5. แบบอื่นๆเช่น
-บางโปรแกรมจะใช้วิธีฝังหรือ Embed ไฟล์ภาษาไว้ในโปรแกรมเลย
-บางโปรแกรมก็รวมภาษาต่างๆไว้ในไฟล์เดียวกันก็มี
โดยวิธีการแปลโปรแกรมเหล่านี้เราต้องติดต่อไปยังผู้พัฒนาโปรแกรมนั้นๆเพื่อสอบถามวิธีการแปลเองครับ
เตรียมเครื่องมือ
การแปลภาษาไทยให้โปรแกรมใช้อะไรบ้าง
1. ใจที่รักที่จะทำครับ เนื่องจากการแปลเมนูโปรแกรมไม่มีค่าจ้างเป็นเงิน
2. โปรแกรม Text Editor หรือโปรแกรมแก้ไขข้อความ เช่น Notepad (มีในวินโดวส์อยู่แล้ว)หรือโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป
3. โปรแกรม Poedit ดาวน์โหลดได้ที่ poedit.net เตรียมไว้ใช้กับไฟล์ po ครับเพราะเดี๋ยวนี้เริ่มมีหลายโปรแกรมใช้ไฟล์แบบนี้กันเยอะขึ้น
โปรแกรมอื่นๆที่คล้ายกันเช่น kbabel และ gtranslator
4. พจนานุกรม (สามารถใช้โปรแกรมพจนานุกรมได้เพื่อความสะดวก) โปรแกรมแปลภาษาและตัวอย่างคำแปล
ผมเองใช้
โปรแกรมพจนานุกรม ของ Thai Software Dictionary รุ่น 4.0
โปรแกรมแปลภาษา ใช้ แปลไทย 2000
และตัวอย่างคำแปลในข้อ 5 ครับ
5. ไฟล์ all_glossary.csv เป็นไฟล์ตัวอย่างคำแปลที่พบบ่อยครับ มีประโยชน์มากหาได้ที่
http://www.opentle.org/ossglossary/
6. พื้นฐานภาษาอังกฤษพออ่านออก ไม่ถึงต้องเก่งมากหรอกครับเพราะเราสามารถใช้โปรแกรมพจนานุกรมและตัวอย่างคำแปลช่วยได้
7. คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสเป๊กไม่ต้องสูงมากเอาให้สามารถเปิดโปรแกรมที่เราจะแปลได้ก็พอ+พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์อีกเล็กน้อย
8. อินเตอร์เน็ตสำหรับส่งไฟล์ภาษาที่เราแปลแล้วครับ ผมเองเคยพลาดหลายโปรแกรมเพราะว่าส่งช้า เนื่องจากว่าไม่มีเงินเข้าร้านเน็ต
การเข้ารหัสข้อความและรหัสภาษา
ในการบันทึกไฟล์ถ้าต้องมีการกำหนดเกี่ยวกับภาษา อันดับแรกให้ลองบันทึกตามต้นฉบับโดยที่ไม่ต้องแก้ไขรหัสภาษา ถ้าไม่ได้ ข้อมูลต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้ครับ
1. Language ID ของภาษาไทยคือ 1054 และอีกแบบคือ $041e หรือ 041e หรือ 41e (41e คือเลขฐาน16 ของ 1054)
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.microsoft.com/globaldev/reference/lcid-all.mspx
http://msdn.microsoft.com/en-us/library/0h88fahh.aspx
http://helpnet.acresso.com/robo/projects/helplibdevstudio9/ihelpgloblangidentifiers.htm
http://www.wwp.brown.edu/encoding/training/ISO/iso639.html
2. Codepage ให้ลองเลือกจากรายการต่อไปนี้
UTF-8
tis-620
iso-8859-11
windows-874
การแปลวิธีใช้
ไฟล์วิธีใช้หรือ Help File นั้นโดยปรกติมี 2 แบบคือแบบ .hlp และแบบ .chm แต่โดยปรกตินักแปลโปรแกรมน้อยรายที่จะแปลวิธีใช้ แต่ถ้าเราแปลได้ก็จะเป็นสร้างความแตกต่างให้กับผู้แปลเองและเป็นการดีกับผู้ใช้ชาวไทยเราด้วยครับ ผมเองเคยแปลของ Ram Saver Pro สมัยที่เป็นไฟล์แบบ hlp แต่พอพัฒนามาเป็น chm ก็ยังไม่ได้แปลซึ่งความจริงแล้วสามารถแปลงจาก hlp เป็น chm ได้ แต่ข้อมูลผมหายหมดก็เลยยังไม่ได้แปล ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยลดภาระโลกร้อน(เกี่ยวกันไหมนี่) ผมขออนุญาตเล่าแบบย่อๆดังนี้ครับ
–ไฟล์ chm ให้ Decompiler ด้วยโปรแกรม HTML Help Workshop โปรแกรมนี้มีในแผ่นโปรแกรม Visual Studio 6 จากนั้นก็แปลข้อความในไฟล์ html ที่ได้จากการ Decompiler แล้วก็ compiler ใหม่อีกครั้ง
–ไฟล์ hlp วิธีการคล้ายกับแบบ chm แต่การ Decompiler ไฟล์นี้จะต่างออกไปโดยโปรแกรมตัวที่ผมใช้ผมดาวน์โหลดจาก planet-source-code.com เป็น source code ของ vb6 (ค้นหาคำว่า Help Decompiler ผู้เขียนคือ ALKO)โปรแกรมที่ใช้ Compiler ไฟล์นี้ชื่อ Help Compiler Workshop (HCW) ของไมโครซอฟต์เช่นกัน
เริ่มกันเลย
มาเริ่มกันเลยนะครับโดยตัวอย่างผมจะสาธิตวิธีการแปลโปรแกรม Cryptic Disk เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเข้ารหัสดิสก์ดาวน์โหลดได้ที่ Exlade.com เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้วผมก็จะเปิดไปที่โฟลเดอร์ของโปรแกรมที่ผมเลือกให้ติดตั้งคือ c:\Program Files\Cryptic Disk++(ปรกติจะอยู่ที่c:\Program Files\Cryptic Disk++ ครับ)\
ดังภาพ จะเห็นได้ว่ามีทั้งโฟลเดอร์ชื่อ Languages และไฟล์ชื่อ Default.lng ซึ่งในโปรแกรมนี้ไฟล์ Default.lng เป็นไฟล์ต้นฉบับภาษาอังกฤษถ้าในโปรแกรมอื่นมักจะมีไฟล์ English.lng อยู่ในโฟลเดอร์ Languages ซึ่งเราสามารถใช้เป็นต้นแบบโดยคัดลอกแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Thai.lng
เมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วก็ทำเปิดโดยการลากไฟล์ไปปล่อยใน notepad ดังภาพเสร็จแล้วก็เริ่มแปลกันเลย โดยส่วนที่มีเครื่องหมาย ; เป็นคำอธิบาย จะไม่ถูกนำไปใช้สามารถใส่อะไรก็ได้ครับ
ตัวอย่างการตั้งค่าในส่วน [LangOptions]
LanguageName=Thai (ไทย) <<<- – – ชื่อภาษาที่จะแสดงที่เมนู
LanguageID=1054 <<<- – – รหัสภาษา
LanguageHelp=crdisk.chm <<<- – – ชื่อไฟล์วิธีใช้สามารถเปลี่ยนเป็นไฟล์ที่เราแปลแล้วได้ครับ
LanguageCodePage=874 <<<- – – การเข้ารหัส
LanguageExt=com <<<- – – ชื่อท้ายเว็บไซต์(ดอตคอม)
จากนั้นก็แปลในส่วนอื่นๆตามปรกติ โดยส่วนที่มีเครื่องหมาย [ ] ไม่ต้องแปลนะครับ
ส่งได้เลย
เมื่อแปลเสร็จแล้วก็ส่งได้เลย
ก่อนส่งก็อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องก่อนอีกครั้งนะครับหรือจะเอาไปลองกับเครื่องอื่นๆดูก่อนก็ได้ เช่นถ้าตอนที่เราแปลใช้ วินโดวส์95 เมื่อนำไปใช้กับ วินโดวส์Xp อาจแสดงผลต่างกัน อย่าลืมตรวจสอบคำถูกผิดด้วยนะครับ
สิ่งที่เราจะได้รับ
1. ได้ใช้โปรแกรมฟรีๆ ในกรณีที่โปรแกรมที่เราแปลเป็นโปรแกรมที่ต้องลงทะเบียนหรือแชร์แวร์ทางผู้พัฒนาโปรแกรมจะตอบแทนน้ำใจเราด้วยการให้รหัสลงทะเบียนกับเราฟรีๆเลยครับ ยิ่งถ้าเป็นโปรแกรมใหญ่หรือโปรแกรมที่ราคาแพงเราก็ยิ่งคุ้มครับ ดังภาพเป็นเมลล์ที่ CEO ของ Exlade.com ส่งรหัสลงทะเบียนมาให้ผมครับ
2. ได้ความภูมิใจ เพราะว่าจะได้ มีชื่อโชว์ที่โปรแกรมว่าเราเป็นคนแปลภาษาไทย ให้โปรแกรมนี้นะเอ้อ เอาไว้อวดเพื่อนๆที่โรงเรียน ที่มหาลัย หรือที่ทำงานก็ได้ครับโก้ดีออกผมว่า
3. ที่ว่ามา เป็นสิ่งที่เราจะได้รับแบบทางตรงครับ ส่วนผลทางอ้อมที่เราจะได้รับก็คือ เราได้ฝึกภาษาและฝึกพิมพ์ดีดไปในตัวครับผมเองใช้การแปลเมนูโปรแกรมนี้เป็นการฝึกจิ้มดีด
รายชื่อโปรแกรมที่มีภาษาไทยและชื่อผู้แปล บางส่วน ครับ
โปรแกรม ผู้แปล
FlashGet กฤติวัฒน์ เมธีกุล
Winamp 2.x วิพัฒน์รณ พิทยาธิคุณจ
Winamp 5.1 สมคเน หัตถกรรม
WinRar ชวรณ ตู้จินดาจ
CDex บริพัตร หาญวิเศษ
Opera 5 ยงยุทธ บุญเชิด
IsoBuster ธนวัฒน์
7-Zip Zafire06
Spybot – Search & Destroy Phanu Wasusin
PhpMyAdmin Arthit Suriyawongkul
สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่สนใจที่จะให้โปรแกรมของคุณมีหลายภาษา สามารถค้นหา Source code ได้ที่ planet-source-code.com หรือ sourceforge.com ด้วยคำว่า “multi lang” ได้ครับ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลโปรแกรม
สำหรับคุณผู้อ่านที่มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับในการแปลโปรแกรมต่างๆสอบถามมาได้ตลอดเวลาครับ ผมอาจจะตอบช้าหน่อย(ไม่มีตังค์ครับ)แต่ตอบแน่นอนครับ
สวัสดีครับทุกคน!
ยินดีต้อนรับสู่ Navan ‘s Blog ผมพึ่งจะหัดเขียนบล๊อกครับ จริงๆแล้วผมเป็นคนที่ชอบเล่นคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมากคนหนึ่ง แต่พลาดเรื่องบล็อกไปได้ยังไงก็ไม่รู้ (เชยจังเลยเรา) แต่ก็ไม่เป็นไรเนอะครับ มาช้ายังดีกว้าไม่มา เขียนบล็อกช้าก็ยังดีกว่าไม่มีบล็อกกับเขาเลย
ว่าแต่จะเขียนอะไรดี เอาเรื่องนี้ดีกว่า “มาสอนโปรแกรมฝรั่งให้หัดพูดไทยกันเถอะ” หรือชื่อเรื่องที่พอเข้าใจง่ายๆว่า “วิธีแปลเมนูโปรแกรมให้มีภาษาไทย” คุณผู้อ่านหลายคนคงเคยเห็น หรือเคยใช้โปรแกรมที่มีทั้งเมนูภาษาไทยและอังกฤษ(หรือหลายภาษา)มากันบ้างแล้วนะครับ
สวัสดีครับผม นาวรรณ ครับ ผมมีงานอดิเรก(ที่ทำจนไม่มีงานจริงๆทำ)ที่ไม่ค่อยจะเหมือนใครคือ ผมชอบที่จะแปลเมนูของโปรแกรมต่างๆเป็นภาษาไทย
โปรแกรมส่วนหนึ่งที่ผมได้แปลไว้ก็เช่น
9 โปรแกรมจาก GodlikeDevelopers.com และ BDV Notepad
Cryptic Disk Disk Password Protection Driver Genius TaskSwitchXP
WinSnap winPenPack KeePass ClearProg MediaInfo
ท่านใดที่สนใจอยากแปลโปรแกรมบ้าง อ่านตรงนี้เลยครับ